มะเร็งเต้านมคืออะไร
โรคมะเร็งเต้านม คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นในท่อน้ำนม ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ กระดูก ตับ ปอด หรือแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดอีกด้วย โรคมะเร็งเต้านมถือเป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 20,000 คนต่อปี
ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมนั้น ยังไม่สามารถยืนยันได้ทั้งหมด แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านพันธุกรรม การบริโภค ประวัติโรคมะเร็งเต้านม การกินยาคุมกำเนิน การเป็นหมัน ไปจนถึงการได้รับผลกระทบจากรังสี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย
มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายคือระยะไหน
โรคมะเร็งเต้านมนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะด้วยกัน โดยจะเริ่มตั้งแต่
ระยะ 0 ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม และเนื้อเยื่ออื่นๆ
ระยะ 1 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งนั้นมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ
ระยะ 2 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดกว่า 2 - 5 เซนติเมตร หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ แต่ยังไม่แพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ
ระยะ 3 หรือที่เรียกว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และลุกลามเข้าไปในต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ แต่ยังไม่แพร่กระจายสู่อวัยวะอื่น
ระยะ 4 หรือที่เรียกว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย เป็นระยะที่มะเร็งเต้านมแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ
อาการของโรคมะเร็ง
ในช่วงเริ่มต้น อาการของมะเร็งเต้านมนั้นอาจยังไม่เผยให้เห็นถึงความผิดปกติมากเท่าไหร่ เพราะมะเร็งเต้านมนั้นถือเป็นโรคที่แฝงตัวมาอย่างเงียบๆ ในช่วงเริ่มแรกอาจไม่รู้สึกเจ็บ จนกระทั่งก้อนมะเร็งนั้นลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ บ้างอาจไม่มีอาการเจ็บ และอาจคลำไม่พบก้อนมะเร็ง โดยส่วนใหญ่และว หากคลำเจอก้อนมะเร็งนั้น มักอยู่ในระยะที่ 2 หรือ 3 แล้ว แต่ถ้าหากตรวจพบในช่วงระยะเริ่มต้นที่ยังไม่มีการลุกลาม มีในการรักษาให้หายสูง ส่วนในระยะที่ 3 นั้น มีโอกาสรักษาให้หาย และไม่กลับมาเป็นซ้ำได้อีก
Thrive Thailand มาพร้อมกับแหล่งข้อมูลโรคมะเร็งเต้านมเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะในระยะแพร่กระจาย และการสนับสนุนนอกเหนือจากการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ และเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีให้กับคนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย